.ขอต้อนรับสู่บล็อก "ครูทิพธารี" ด้วยความยินดีค่ะ.

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ประตูการเรียนรู้ บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย ท๓๑๑๐๒ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนคุรุราษฏร์รังสฤษฎ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เขต สพม.ราชบุรี เขต ๘ ... เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(bleded learning) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้เรียนสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยน์ในการค้นคว้า ค้นพบคุณค่าของความพอเพียงด้วยการลงมือปฏิบัติจริง

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

บทพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ ที่สะท้อนพระเมตตา  

ลักษณะการแต่ง   ร้อยแก้วประเภทเรียงความ

ที่มาของเรื่อง  ชวนคิดพิจิตรภาษา  ในหนังสือมณีพลอยร้อยแสง

จุดมุ่งหมาย  เพื่อแสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีไทยและบทกวีจีน ที่กล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนา

สาระสำคัญโดยสรุป   เนื้อความแสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆ ของชาวนาและยังสะท้อนพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่มีต่อชาวนา ทรงนำบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์มาวิเคราะห์ เกี่ยวกับความยากลำบาบของชาวนาไทย และทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้เห็นภาพชีวิตชองชาวนาไทยและชาวนาจีน ไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก
                                               
เนื้อเรื่อง

              เมื่อครั้งเป็นนิสิต ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของ จิตร ภูมิศักดิ์ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ศึกษา อย่างละเอียด หรือวิเคราะห์อะไร

  เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่า เขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวาง และลึกซึ้งถี่ถ้วน ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน

ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน ฟังติดหู มาจนถึงวันนี้

                 เปิบข้าวทุกคราวคำ                  จงสูจำเป็นอาจิณ

                 เหงื่อกูที่สูกิน                            จึงก่อเกิดมาเป็นคนA

                 ข้าวนี้น่ะมีรส                             ให้ชนชิมทุกชั้นชน

                  เบื้องหลังสิทุกข์ทน                และขมขื่นจนเขียวคาว

                 จากแรงมาเป็นรวง                  ระยะทางนั้นเหยียดยาว

                  จากรวงเป็นเม็ดพราว            ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ

                 เหงื่อยหยดสักกี่หยาด           ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น

                   ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                     จึงแปรรวงมาเปิบกัน

                  น้ำเหงื่อยที่เรื่อแดง              และนำแรงอันหลั่งริน

                  สายเลือดกูทั้งสิ้น                   ที่สูซดกำซาบฟัน

ดูจากสรรพนามที่ใช้ว่า กู ในบทกวีนี้ แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก กับใครๆ ว่า ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆ จะเอาอะไรกิน อย่าว่าแต่การลำเลิกทวงบุญคุณเลย ความช่วยเหลือที่สังคม มีต่อคนกลุ่มนี้ ในด้านของปัจจัยในการผลิต

การพยุงหรือการประกันราคา และการักษาความยุติธรรมทั้งปวง ก็ยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ ทำให้ในหลายๆ

ประเทศ ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ ชาวนาต่างก็จะละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรม หรือการบริโภค ซึ่งทำให้ตนมีรายได้สูงกว่า หรือได้เงินเร็วกว่า แน่นอนกว่า มีสวัสดิการดีกว่า และไม่ต้องเสี่ยงมากเท่าการเป็นชาวนา บางคนที่ยังคงอยู่ ในภาคเกษตรกรรม ก็มักจะนิยมเปลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืช ซึ่งมักจะได้ราคาต่ำ เพราะรัฐบาล ก็มีความจำเป็น ที่จะต้องขยับขยายตัวให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นได้ อาจแย่ลงเสียด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่มีสิทธิ ที่จะอุทธรณ์ฎีกากับใคร ถึงจะมีคนแบบจิตร ที่พยายามใช้จินตนาการสะท้อนความในใจ ออกมาสะกิดใจ คนอื่นบ้าง แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไปหลายปีมาแล้วข้าพเจ้าอ่านพบบทกวีจีนบทหนึ่ง ผู้แต่งชื่อหลี่เชิน ชาวเมืองอู่ชี มีชีวิตอยู่ ในระหว่างปี ค.ศ. ๗๗๒ถึง ๘๔๖ สมัยราชวงศ์ถัง ท่านหลี่เชินได้บรรยายความในใจไว้ เป็นบทกวีภาษาจีน ข้าพเจ้าจะพยายามแปล ด้วยภาษาที่ขรุขระไม่เป็นวรรณศิลป์ เหมือนบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์

                       หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง

                       จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง

                       รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง

                       แต่ชาวนาก็ยังอดตาย

                       ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน

                       เหงื่อยหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว

                       ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น

                       ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส

               กวีผู้นี้รับราชการมีตำแหน่งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น อยู่ในชนบท ฉะนั้นเป็นไปได้ ที่เขาจะได้เห็นความเป็นอยู่ของราษฎรชาวไร่ชาวนาในยุคนั้น และเกิดความสะเทือนใจ จึงได้บรรยาย ความรู้สึกออกเป็นบทกวีที่เขาให้ชื่อว่า ประเพณีดั้งเดิม บทกวีของหลี่เชินเรียบๆ ง่ายๆ แต่ก็แสดงความขัดแย้งชัดเจน แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร

                เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็น เหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับ นำชาวนามาบรรยาย เรื่องของตน ให้ผู้อื่นอ่านฟังด้วยตนเอง

 เวลานี้สภาพบ้านเมืองก็เปลี่ยนไป ตั้งแต่สมัยหลี่เชินเมื่อพันกว่าปี สมัยจิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว

สมัยที่ข้าพเจ้าได้เห็นเอง ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันนัก ฉะนั้นก่อนที่ทุกคน จะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ

  เรื่องความทุกข์ของชาวนา ก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความ สะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป

                     สิงหาคม ๒๕๓๓

          พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

           พิมพ์ครั้งแรก ในหนังสือ มณีพลอยร้อยแสง ๒๕๓๓

เก็บสาระจากการอ่านด้วยคำถามต่อยอด

       ๑. จากบทประพันธ์นี้ ให้อภิปรายข้อเหมือน และข้อต่าง ของบทกวีไทยและบทกวีจีน

       ๒. บทกวีจีนแสดงความขัดแข้งอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ

       ๑. ประกวดบทกวีเกี่ยวกับชาวนา

       ๒. ประกวดคำขวัญในการรับประทานข้าว ให้หมดไม่เหลือทิ้ง

       ๓.  ประกวดโครงงาน เรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น